ว่าด้วยเรื่องนิทานพื้นบ้าน

  ความหมายของนิทาน
  ลักษณะของนิทานพื้นบ้าน
  ความสำคัญของนิทานพื้นบ้าน
  การแบ่งประเภทของนิทานพื้นบ้าน
  องค์ประกอบการเล่านิทาน

องค์ประกอบของการเล่านิทาน

     องค์ประกอบของการเล่านิทาน มีองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ



  1. ผู้เล่านิทาน คือ ผู้ส่งสารซึ่งจะมีทักษะ ความสามารถ ลีลาในการเล่าเรื่องเฉพาะตัว ผู้เล่านิทานที่มีความสามารถจะทำให้เนื้อเรื่องที่สนุกสนานอยู่แล้วสนุกสนานตื่นเต้นชวนติดตามมากขึ้น ผู้เล่านิทานแต่ละคนอาจจะจดจำเนื้อหาเรื่องราวได้ไม่เหมือนกัน สนใจรายละเอียดต่างกัน บางคนชอบเล่าแบบรวบรัดก็จะจำแต่เฉพาะเนื้อหาหลักๆข้ามเนื้อความบางตอนไปเสีย บางคนสนใจรายละเอียดก็จะพรรณนาความมาก นิทานเรื่องเดียวกันจึงมี เนื้อหาแตกต่างกันไป


  2. เนื้อเรื่องของนิทาน เนื้อเรื่องนิทานจัดเป็นเนื้อหาสาระที่ผู้เล่านิทานส่งไปให้ ผู้รับสาร คือผู้ฟัง นิทานมีหลายประเภทดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มีเนื้อหาและความยาว ต่างกัน นิทานเรื่องเดียวกันอาจมีเนื้อเรื่องแตกต่างกันไปเรียกว่า มีหลายสำนวน (Version) คำว่า “สำนวน” ประคอง นิมมานเหมินทร์ (2543, หน้า 38) อธิบายว่า



    “สำนวนเป็นคำศัพท์ที่ใช้กับนิทานพื้นบ้านเรื่องเดียวกัน แต่เก็บจาก
    ที่ต่างๆกัน หรือเก็บจากผู้เล่าคนเดียวกันแต่ต่างเวลากัน นิทานที่เก็บได้
    จากผู้เล่าคนหนึ่งหรือครั้งหนึ่งๆ ก็เป็นนิทานสำนวนหนึ่ง”
     


  3. ผู้ฟังนิทาน คือ ผู้รับสาร ซึ่งจะต่างจากผู้รับสารอื่นๆอยู่บ้างตรงที่ผู้ฟังนิทานส่วนใหญ่จะมีความสนใจในเนื้อเรื่อง และพยายามจะมีส่วนร่วม เช่น มีการซักถาม คัดค้านหรือสนับสนุนเนื้อหาในนิทาน เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบกับผู้เล่าจะทำให้บรรยากาศในการเล่านิทานสนุกสนานยิ่งขึ้น ในทางคติชนวิทยาแบ่งผู้ฟังนิทานออกเป็น 2 ประเภท (ศิราพร ฐิตะฐาน, 2523, หน้า 22-23) คือ



    3.1. Passive bearers tradition หมายถึง ผู้คนทั่วไปที่ชอบฟังนิทาน จำเรื่องได้แต่ถ่ายทอดไม่ได้
    3.2. Active bearers tradition หมายถึง บุคคลที่มีวิญญาณของนักเล่านิทาน เมื่อฟังนิทานจากผู้เล่าคนหนึ่งๆ แล้วก็สามารถจดจำเนื้อเรื่องและสามารถถ่ายทอดได้อย่างมีชีวิตชีวา มีลีลาดึงดูดผู้ฟังได้อย่างน่าสนใจ ผู้ฟังประเภทนี้นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการ ถ่ายทอดและ การแพร่กระจายของนิทาน
     


  4. จุดประสงค์ในการเล่านิทาน การเล่านิทานจุดมุ่งหมายส่วนใหญ่อยู่ที่ ความสนุกสนานบันเทิงเป็นหลัก ส่วนจุดมุ่งหมายอื่นๆนั้นมักจะขึ้นอยู่กับผู้เล่า นิทานเรื่องเดียวกันผู้เล่าอาจจะมีจุดประสงค์ในการเล่านิทานแตกต่างกันไปบ้าง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้


    1. เพื่อความสนุกสนาน เป็นเครื่องบันเทิงใจในยามว่าง
    2. เพื่อใช้สั่งสอน ได้แก่ นิทานคติต่างๆ
    3. เพื่อให้ความรู้ในด้านต่างๆ เช่น นิทานเกี่ยวกับสถานที่ ปรากฏการณ์ ธรรมชาติ
    4. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแผ่ศาสนา เช่น รามายณะ นิทานเกี่ยวกับเทพเจ้าต่างๆ เป็นต้น
     


  5. โอกาสในการเล่านิทาน การเล่านิทานเล่าได้เกือบทุกโอกาส ได้แก่ ในงานประเพณีหรือพิธีกรรมทางศาสนา ในขณะที่ทำงานร่วมกัน เช่น ทำนา ทำไร่ เก็บฝ้าย จักสาน เย็บปักถักร้อย เตรียมของทำงานประเพณี ขณะเดินทาง เป็นต้น ในช่วงเวลาที่ไม่สามารถไปไหนหรือทำกิจกรรมอื่นใดได้สะดวก เช่น ในฤดูหนาว หรือช่วงฝนตก เป็นต้น


    ผู้เล่านิทานมักจะเป็นนักบวชหรือพระภิกษุโดยยกตัวอย่างเล่าแทรกไปในคำสอน เท่าที่สังเกตพบเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ การเล่านิทานน่าจะเป็นช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเสร็จจากภารกิจการงานประจำวันมาพักผ่อนร่วมกัน เรื่องที่เล่าก็เป็นเรื่องนานาชนิด แต่พอตกดึกเรื่องที่เล่าก็มักจะเปลี่ยนมาเป็นเรื่องผี


          องค์ประกอบของการเล่านิทานที่กล่าวมานี้ องค์ประกอบที่มีผลให้เนื้อเรื่องของนิทานเปลี่ยนแปลงไปมากที่สุดคือ ผู้เล่านิทาน นิทานที่แพร่กระจายไปตามถิ่นต่างๆมีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากตัวผู้เล่า



<< ย้อนกลับ     | เอกสารอ้างอิง

อ่านเพิ่มเติมลิ้งค์ด้านล่าง หมวดตำนานไทยหมวดตำนานไทย

เก่งเกินครู |

คนภาคเหนือ |

โจรสลัดแห่งตะรุเตา|

นางนากพระโขนง | นิทานภาคใต้ | นิทาน |

นิทาน-นิทานตลกหยาบโลน ว่าด้วยเรื่องนิทานพื้นบ้าน | นิทานพื้นบ้าน-กระต่ายกับหอยขม |

นิทานพื้นบ้าน-กำเนิดปลาโลมา | นิทานพื้นบ้านไทยทรงดำ-มะหุดแสนเปากับท้าวแสนปม |

บั้งไฟพญานาค |

ประวัติวังหน้า | ปริศนาคำทาย|

เพลงไทย | เพลงไทยเดิม | พระราชวังเดิม |

พิษหอยมรณะ |

เมขลา-รามสูร |

วรรณกรรมใหม่-ตราบจนสิ้นกรรม |

สรรพลี้หวน | สังเขป ประวัติกรุงศรีอยุธยา

| ฮวงจุ้ย |
หน้าหลัก หน้าหลัก