นิทานชาวบ้าน เป็นสาขาสำคัญของคติชาวบ้าน เป็นที่สนใจของนักปราชญ์ นักศึกษาวิชามานุษยวิทยาและวิชาการอื่นๆ เป็นอันมาก การเล่านิทานเป็นเรื่องเก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ และเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วไปในทุกหนทุกแห่ง ในหมู่ชนทุกชั้น นับตั้งแต่พระราชาลงมาจนถึงคนยากจน (และยังมีนิทานเล่าว่า แม้เทวดาก็ชอบฟังนิทาน ถ้ามนุษย์เล่านิทานในเวลากลางวันจะถูกเทวดาแช่ง เพราะเวลากลางวันเทวดาต้องไปเฝ้าพระอิศวร ไม่มีโอกาสไปชุมนุมกันฟังนิทานที่มนุษย์เล่านั้นด้วย) ถึงแม้ว่าเรื่องในนิทานจะแตกต่างกันไปตามภาคต่าง ๆ ของโลก แต่จุดประสงค์ดั้งเดิมในการเล่านิทานของมนุษย์เป็นอย่างเดียวเหมือนกันหมด นั่นก็คือ มนุษย์เราทั่วไปต้องการเครื่องบันเทิงใจในยามว่างงานประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งเป็นเหตุผลเนื่องมาแต่ศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์ และเป็นต้นเหตุให้มีนิทานขึ้นมากมาย (กุหลาบ มัลลิกะมาส 2509: 99)
นิทานที่เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมานี้จะมีลักษณะเฉพาะ คือ (ไพรถ เลิศพิริยกมล 2512:7)
1. จะต้องเป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา ใช้ภาษาชาวบ้านทั่วไป
2. เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งในตอนหลังอาจนำมาเขียนขึ้น
ตามที่เล่าไว้3. ไม่ปรากฏว่าใครเป็นคนเล่าดั้งเดิม เป็นแต่รู้ว่าเคยได้ยินได้ฟังมา หรือเขาเล่าว่า
หรือบรรพบุรุษเป็นผู้เล่าให้ฟัง
การแบ่งนิทาน มีผู้ศึกษานิทานและพยายามจัดหมวดหมู่หรือแบ่งแยกเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ซึ่งแบ่งได้หลายวิธี ดังนี้
นำลงวันที่ 21 พ.ค 25461. แบ่งนิทานตามเขตพื้นที่ คือ พบนิทานที่ถิ่นใดก็เป็นของถิ่นนั้น เช่น เขตอินเดีย เขต
ประเทศนับถือศาสนาอิสลาม เขตชนชาติยิวในเอเซียไมเนอร์ เป็นต้น
2. แบ่งนิทานตามแบบของนิทาน แบ่งออกได้ ดังนี้
2.1 นิทานปรัมปรา
2.2 นิทานท้องถิ่น แยกย่อยเป็น
- นิทานอธิบายสิ่งต่าง ๆ
- นิทานเกี่ยวกับความเชื่อ
- นิทานวีรบุรุษ
- นิทานนักบวช
- นิทานเกี่ยวกับสมบัติที่ฝังไว้
- นิทานสอนใจ
2.3 เทพนิยาย
2.4 นิทานสัตว์ แบ่งเป็น
- นิทานสอนคติธรรม
- นิทานเล่าไม่รู้จบ
2.5 นิทานตลก
3. แบ่งนิทานตามชนิดของนิทาน เป็นการแบ่งตามแบบที่ 2 ที่แบ่งให้ย่อย
แต่ละชนิดละเอียดลงไปอีก
4. แบ่งนิทานตามสารัตถะของนิทาน หมายถึงการพิจารณาที่ "แก่น" (element)
ของนิทาน เป็นหลัก ในการจัดหมวดหมู่นิทาน การแบ่งโดยใช้ "แก่น" ของนิทานนี้จะแบ่งได้ละเอียดที่สุด
ในที่นี้จะกล่าวถึงนิทานชาวบ้านตามแบบที่ 2 เพราะส่วนใหญ่นิยมใช้และเข้าใจได้ดี
อ่านเพิ่มเติมลิ้งค์ด้านล่าง หมวดตำนานไทย
เก่งเกินครู |
คนภาคเหนือ |
โจรสลัดแห่งตะรุเตา|
นางนากพระโขนง |
นิทานภาคใต้ |
นิทาน |
นิทาน-นิทานตลกหยาบโลน
ว่าด้วยเรื่องนิทานพื้นบ้าน |
นิทานพื้นบ้าน-กระต่ายกับหอยขม |
นิทานพื้นบ้าน-กำเนิดปลาโลมา |
นิทานพื้นบ้านไทยทรงดำ-มะหุดแสนเปากับท้าวแสนปม |
บั้งไฟพญานาค |
ประวัติวังหน้า |
ปริศนาคำทาย|
เพลงไทย |
เพลงไทยเดิม |
พระราชวังเดิม |
พิษหอยมรณะ |
เมขลา-รามสูร |
วรรณกรรมใหม่-ตราบจนสิ้นกรรม |
สรรพลี้หวน |
สังเขป ประวัติกรุงศรีอยุธยา
|
ฮวงจุ้ย |
หน้าหลัก