ประวัติกรุงศรีอยุธยา

ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา

"กรุงศรีอยุธยาเป็นราชอาณาจักรไทยที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาถึง 417 ปี



มีพระมหากษัตริย์ปกครองบ้านเมือง 33 พระองค์  เริ่มจากพระเจ้าอู่ทอง พ.ศ.1893 จนถึงวาระสุดท้าย เสียกรุงแก่พม่า เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2310  รวมราชวงศ์ที่ทรงปกครองอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาถึง 5 ราชวงศ์ คือ  ราชวงศ์เชียงราย ราชวงศ์สุวรรณภูมิ ราชวงศ์พระร่วง  ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง"






ความเจริญรุ่งเรืองและความสวยงามของกรุงศรีอยุธยา จากสายตาของชาวต่างประเทศ

  โยส เซาเต็น ชาวฮอลันดาที่เข้ามาติดต่อค้าขายในพระนครศรีอยุธยา (ฝรั่งชาติแรกที่เข้ามากรุงศรีอยุธยา คือ ปอร์ตุเกส ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ.2034-2072) ได้เขียนพรรณนาความสวยงามและความมั่งคั่งของกรุงศรีอยุธยาไว้ว่า




"พระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานีและเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ บรรดาขุนนาง ข้าราชการ เจ้านายทั้งหลายทั้งปวงก็อยู่ที่พระนครศรีอยุธยานี้วัดพนัญเชิง เมืองเมืองนี้ตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ ในแม่น้ำเจ้าพระยา ท้องที่รอบนอกเป็นที่ราบไปทั่วทุกทิศ รอบกรุงศรีอยุธยามีกำแพงหินสร้างอย่างหนาแน่นแข็งแรง รอบกำแพงวัดได้ 2 ไมล์ฮอลันดา จึงเป็นนครหลวงที่กว้างขวางใหญ่มาก ภายในพระนครมีโบสถ์ วิหาร วัดวาอารามสร้างขึ้นอยู่ติด ๆ กัน ประชาชนพลเมืองผู้อยู่อาศัยก็มีอยู่หนาแน่น ภายในกำแพงเมืองมีถนนกว้างตัดตรงและยาวมาก และมีคลองขุดจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในพระนคร จึงสะดวกแก่การสัญจรไปมาได้ทั่วถึงกัน นอกจากถนนและคลอง ยังมีคูเล็ก ๆ และตรอกซอยอีกเป็นอันมาก ด้วยเหตุนี้ในฤดูน้ำ เรือพายทั้งหลายทั้งปวงจึงสามารถที่จะผ่านเข้าออกติดต่อกันได้จนถึงหัวกะไดบ้าน บ้านที่อยู่อาศัยนั้นปลูกขึ้นตามแบบบ้านแขกอินเดีย แต่มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง พระนครศรีอยุธยานี้จึงเป็นนครที่โอ่อ่า เต็มไปด้วยโบสถ์วิหาร ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 300 และก่อสร้างอย่างวิจิตรพิสดารที่สุด โบสถ์วิหารเหล่านี้มีปรางค์ เจดีย์ และรูปปั้น รูปหล่อมากมายใช้ทองฉาบอยู่ภายนอกสีเหลืองอร่ามทั่วไปหมด เป็นพระมหานครที่สร้างอยู่ข้างฝั่งแม่น้ำ โดยมีผังเมืองวางไว้อย่างเป็นระเบียบจึงเป็นนครที่สวยงามมาก ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม มีประชาชนหนาแน่น และเต็มไปด้วยสินค้าสิ่งของจำเป็นแก่ชีวิต นำเข้ามาขายจากนานาประเทศ เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ ยังไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดในแถบนี้ของโลก ที่จะมีเมืองใหญ่โตมโหฬารวิจิตรพิสดารและสมบูรณ์พูนสุขเหมือนกับพระมหากษัตริย์ ณ ราชอาณาจักรนี้ พระนครศรีอยุธยาอยู่ในภูมิฐานที่ดีและมั่นคง สุดวิสัยที่ข้าศึกศัตรูจะโจมตียึดครองได้ง่าย ๆ เพราะทุก ๆ ปี น้ำจะท่วมขึ้นมาถึง 6 เดือนทั่วท้องที่นอกกำแพง จึงเป็นการบังคับให้ศัตรูอยู่ไม่ได้ ต้องล่าถอยทัพไปเอง"



อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา


ประวัติการครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ และเหตุการณ์โดยย่อ

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.1893 เป็นกษัตริย์ราชวงศ์เชียงราย ทรงปกครองกรุงศรีอยุธยาจนถึง พ.ศ. 1912 ก็สวรรคต พระราเมศวรพระราชโอรสที่ครองเมืองลพบุรีเสด็จมาเสวยราชแทนพระราชบิดา (พ.ศ.1912-1913) แต่ขุนหลวงพะงั่ว พระปิตุลา (อา) เสด็จเข้ามาหมายจะครองราชย์ จึงทรงสละราชบัลลังก์กลับไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม

อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา


ขุนหลวงพะงั่วเสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 1 เป็นต้นราชวงศ์สุวรรณภูมิ ครองราชย์ พ.ศ.1913 ถึงพ.ศ.1931 เสด็จสวรรคต พระเจ้าทองลัน ราชโอรสขึ้นเสวยราชย์แทน เมื่อพระชนมายุ 15 พรรษา เพียง 7 วัน พระราเมศวรก็เสด็จมาจับปลงพระชนม์


อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา

สมเด็จพระราเมศวร ทรงครองราชย์ตั้งแต่พ.ศ.1931 ถึงพ.ศ.1938 ทรงเป็นจอมทัพยกไปตีเมืองกำพูชาได้

สมเด็จพระรามราชาธิราช พระราชโอรสเสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดา พ.ศ.1938 ครั้นถึงพ.ศ.1952 ก็เกิดเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติเป็นครั้งแรกของกรุงศรีอยุธยา คือพระราชนัดดาของขุนหลวงพะงั่วที่ครองเมืองสุพรรณมาจับพระรามราชาธิราชปลงพระชนม์แล้วขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนครินทราชาธิราช



สมเด็จพระนครินทราชาธิราช ครองราชย์ พ.ศ.1952 ถึงพ.ศ.1967 มีพระโอรส 3 พระองค์ คือ เจ้าอ้ายพระยา โอรสองค์ใหญ่ทรงให้ครองเมืองสุพรรณ เจ้ายี่พระยา โอรสองค์กลางให้ครองเมืองสรรค์ และเจ้าสามพระยา โอรสองค์เล็กให้ครองเมืองชัยนาท เมื่อพระราชบิดาสวรรคต โอรสทั้งสามก็ยกทัพเข้ากรุงศรีอยุธยา เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาชนช้างกันที่เชิงสะพานป่าถ่าน สวรรคตบนคอช้างทั้งสองพระองค์ เจ้าสามพระยายกทัพมาภายหลังก็เข้ากรุงศรีอยุธยาเสวยราชย์สมบัติแทนพระราชบิดาทรงพระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 2


สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ครองราชย์ พ.ศ.1967 ถึงพ.ศ.1991 ทรงมีพระราชโอรสทรงพระนามว่า พระราเมศวร โปรดให้ไปครองหัวเมืองเหนือ ณ เมืองพิษณุโลก ครั้นพระราชบิดาสวรรคตก็เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา ทรงพระนามว่า พระบรมไตรโลกนาถ



สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์ พ.ศ. 1991 ถึง พ.ศ.2031 เหตุการณ์สำคัญในสมัยนี้คือ ทรงยกทัพไปรบกับพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ทรงยกเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองหลวง เสด็จไปประทับพ.ศ. 2006 จนสวรรคตที่นั่น ส่วนกรุงศรีอยุธยาให้เป็นเมืองลูกหลวง โปรดให้พระบรมราชา พระโอรสองค์ใหญ่มาครอง สมัยนี้มีการปรับปรุงระบบการปกครองเป็น เวียง วัง คลัง นา และบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก


สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ครองราชย์ พ.ศ.2031 ถึงพ.ศ.2034 เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชแทนพระราชบิดาทำให้กรุงศรีอยุธยากลับมาเป็นเมืองหลวง แต่ครองราชย์ได้เพียง 3 ปีก็สวรรคต พระอนุชาต่างพระมารดาขึ้นเสวยราชย์สมบัติแทนทรงพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2


สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์ พ.ศ.2034 ถึง พ.ศ.2072 ในสมัยนี้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นครั้งแรก คือ ฝรั่งชาวปอร์ตุเกสได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก ในสมัยนี้ได้จัดทำตำราพิชัยสงคราม เมื่อเสด็จสวรรคตสมเด็จพระอาทิตย์วงศ์พระราชโอรสขึ้นเสวยราชย์แทน ทรงพระนามว่า พระบรมราชามหาหน่อพุทธางกูร


สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (หน่อพุทธธางกูร) ครองราชย์ พ.ศ.2072 ถึงพ.ศ.2076 ทรงครองราชย์ได้เพียง 5 ปีก็ประชวรทรพิษสวรรคต พระรัษฎาธิราชกุมาร พระชนม์ 5 พรรษา ขึ้นเสวยราชย์แทน


สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร ครองราชย์พ.ศ.2076 อยู่ได้เพียง 5 เดือน พระไชยราชาธิราชก็ปลงพระชนม์และขึ้นครองราชย์แทน

สมเด็จพระไชยราชาธิราช เสวยราชย์ พ.ศ.2077 ถึงพ.ศ.2090 ได้ทำสงครามกับพม่าเป็นครั้งแรก ทำให้รบกันยาวนานต่อมาถึง 300 ปีเศษ เมื่อเสด็จสวรรคต พระแก้วฟ้า พระโอรสองค์ใหญ่ พระชนมายุ 11 พรรษาขึ้นครองราชย์สืบแทน


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ (สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์) ครองราชย์ พ.ศ.2301 ถึงพ.ศ.2310 ขุนนางไม่พอใจจึงพากันออกบวชเป็นอันมาก ปลายปีพ.ศ.2308 กองทัพพม่าเห็นความระส่ำระส่ายของกรุงศรีอยุธยาจึงยกกองทัพเข้าตีตามรายทาง และเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าเอกทัศน์ไม่มีพระสติปัญญาบริหารบ้านเมืองและบัญชาการรบ จึงให้อัญเชิญเจ้าฟ้าอุทุมพรทรงลาผนวชมาครองราชย์และบัญชาการรบทำให้พระเจ้าเอกทัศน์อยากครองราชย์อีก เจ้าฟ้าอุทุมพรทรงรำคาญพระทัยเลยเสด็จออกทรงผนวชอีก


ส่วนพระเจ้าเอกทัศน์ก็ทรงสำราญและมัวเมาในอิสตรีไม่เอาพระทัยใส่ในการป้องกันบ้านเมือง พม่าล้อมเมือง 1 ปีกับ 2 เดือน ขุดอุโมงค์เผากำแพงพังลงมา บุกเข้ากรุงศรีอยุธยาได้ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2310 ตรงกับวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ไล่ฆ่าผู้คน ปล้นเมืองจุดไฟเผาทุกสิ่งทุกอย่าง กรุงศรีอยุธยาที่รุ่งเรืองสืบต่อกันมา 417 ปี ก็ถึงกาลพินาศย่อยยับ ไม่อาจฟื้นคืนมาเป็นราชธานีแห่งกรุงสยามอีกต่อไป เป็นอันสิ้นสุดประวัติศาสตร์อันยาวนานของกรุงศรีอยุธยาโดยสิ้นเชิง ซึ่งเกิดจากการแตกสามัคคีและแก่งแย่งชิงดีและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนของคนไทยนั่นเอง



พระมหากษัตริย์ที่ปกครองกรุงศรีอยุธยา

พระมหากษัตริย์ที่ปกครองกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลา 417 ปี มีทั้งหมด 33 พระองค์ แบ่งเป็น 5 ราชวงศ์ ดังนี้

1. ราชวงศ์เชียงราย 3 พระองค์

1) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (1913-1931) ลำดับที่ 1
2) สมเด็จพระราเมศวร  (1912-1913)  ลำดับที่ 2
(1931-1938)
3) สมเด็จพระรามราชาธิราช (1938-1952) ลำดับที่ 5

2. ราชวงศ์สุวรรณภูมิ 13 พระองค์

1) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (1913-1931)  ลำดับที่ 3
2) พระเจ้าลัน (1931-         )  ลำดับที่ 4
3) สมเด็จพระนครอินทราธิราช (1952-1967)  ลำดับที่ 6
4) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (1967-1991) ลำดับที่ 7
5) สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (1991-2031) ลำดับที่ 8
6) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (2031-2034) ลำดับที่ 9
7) สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (2034-2072) ลำดับที่ 10
8) สมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 4 (2072-2076) ลำดับที่ 11
9) สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร (2076-         )  ลำดับที่ 12
10) สมเด็จพระไชยราชาธิราช (2077-2090) ลำดับที่ 13
11) สมเด็จพระยอดฟ้า (2090-2091) ลำดับที่ 14
12) สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (2091-2106) ลำดับที่ 15
(2111-2112)
13) สมเด็จพระมหินทราธิราช (2106-2111) ลำดับที่ 16
(2112-         )

3. ราชวงศ์พระร่วง 7 พระองค์

1) สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (2112-2133) ลำดับที่ 17
2) สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2133-2148) ลำดับที่ 18
3) สมเด็จพระเอกาทศรถ (2149-2163) ลำดับที่ 19
4) สมเด็จเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์  (2163-         ) ลำดับที่ 20
5) สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (2163-2171) ลำดับที่ 21
6) สมเด็จพระเชษฐาธิราช (2171-2172) ลำดับที่ 22
7) สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (2172-         )  ลำดับที่ 23

4. ราชวงศ์ปราสาททอง 4 พระองค์

1) สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (2172-2199) ลำดับที่ 24
2) สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (2199-         ) ลำดับที่ 25
3) พระศรีสุธรรมราชา (2199-         ) ลำดับที่ 26
4) สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (2199-2231) ลำดับที่ 27

5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

1) สมเด็จพระเพทราชา (2231-2246) ลำดับที่ 28
2) สมเด็จพระศรีสรรเพชญที่ 8 (2246-2252) ลำดับที่ 29
     (สมเด็จพระเจ้าเสือ)
3) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (2252-2275) ลำดับที่ 30
4) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (2276-2301) ลำดับที่ 31
5) สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (2301- )  ลำดับที่ 32
6) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี่นั่งสุริยามรินทร์ (2301-2310) ลำดับที่ 33
     (พระเจ้าเอกทัศน์)


 

คลิกที่นี่ชมประมวลภาพ
บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา


บรรณานุกรม

ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จกรมพระยา. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา.กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตว์,2495

บริหารเทพธานี,พระ. ประวัติชาติไทย เล่ม 2. ศิลปาบรรณาคาร, 2541

ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. โฉมหน้ากรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : หนังสือพิมพ์เสียงไทย, 2522

สุดารา สุจฉายา.อยุธยา. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2538


นำลงวันที่ 3 ก.ย 2544

อ่านเพิ่มเติมลิ้งค์ด้านล่าง หมวดตำนานไทยหมวดตำนานไทย

นางนากพระโขนง | นิทานภาคใต้ | เพลงไทย | สรรพลี้หวน | ประวัติวังหน้า | คนภาคเหนือ | เมขลา-รามสูร | ปริศนาคำทาย| เก่งเกินครู | พระราชวังเดิม | วรรณกรรมใหม่-ตราบจนสิ้นกรรม | สังเขป ประวัติกรุงศรีอยุธยา | บั้งไฟพญานาค | เพลงไทยเดิม | นิทาน | นิทาน-นิทานตลกหยาบโลน ฮวงจุ้ย | พิษหอยมรณะ | โจรสลัดแห่งตะรุเตา| ว่าด้วยเรื่องนิทานพื้นบ้าน | นิทานพื้นบ้าน-กระต่ายกับหอยขม | นิทานพื้นบ้าน-กำเนิดปลาโลมา | นิทานพื้นบ้านไทยทรงดำ-มะหุดแสนเปากับท้าวแสนปม |
หน้าหลัก หน้าหลัก