เบื้องหลังโจรสลัดแห่งตะรุเตา :

จากหนังสือสู่แผ่นฟิล์ม

รายการเสวนามี รศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
ร่วมสนทนากับผู้เขียนคือคุณปองพล อดิเรกสาร
ด้วยประเด็นร้อน ๆ เรื่องการสร้างภาพยนตร์กับผลกระทบทางธรรมชาติ



   หลังจากที่มีกระแสข่าวออกมาว่า โจรสลัดแห่งตะรุเตา นวนิยายของคุณปองพล อดิเรกสาร เจ้าของนามปากกา PAUL ADIREX กำลังจะสร้างเป็นภาพยนตร์ระดับฮอลลีวู้ดนั้น หลายฝ่ายต่างจับตามอง ในฐานะภาพยนตร์เรื่องแรกของฮอลลีวู้ดที่สร้างจากบทประพันธ์ของคนไทย รวมทั้งการถ่ายทำที่กำลังจะ เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งถูกมองว่าจะเป็นการทำลายธรรมชาติ เหมือนกรณีของภาพยนตร์เรื่อง เดอะบีชที่เข้ามาถ่ายทำในบ้านเรา



สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นและสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยฯ จึงถือโอกาสนี้ร่วมกัน จัดแถลงข่าวขึ้นเมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2543 ที่สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยฯ โดยใช้ชื่อว่าเบื้องหลังโจรสลัดแห่งตะรุเตา จากหนังสือสู่แผ่นฟิล์ม เป็นหัวข้อในการสนทนา งานนี้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าฟังได้ซักถามอย่างเต็มที่ โดยเจ้าของบทประพันธ์ได้มาแสดงข้อเท็จจริงและทัศนะ ในหลายแง่มุมเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์นี้ รวมทั้งที่มาของนวนิยายทุกเรื่องที่ออกสู่สายตานักอ่านไปแล้ว และที่กำลังจะเขียนในอนาคตโดยมี รศ.ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ รับหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ



เริ่มแรกคุณปองพลได้เล่าถึงที่มาของ โจรสลัดแห่งตะรุเตา ว่าเกิดจากการไปเที่ยว      เกาะตะรุเตาเมื่อ พ.ศ. 2535 และได้หนังสือเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเกาะตะรุเตา ซึ่งมีเรื่องของผู้คุมและนักโทษที่กลายเป็นโจรสลัดอยู่ด้วย ความโหดร้ายทารุณเมื่อสมัยที่ตะรุเตายังเป็นคุกอยู่ทำให้เกิดความสนใจมากขึ้น      จึงมีความคิดว่าน่าจะนำมาเขียนป็นนวนิยาย นั่นคือจุดเริ่มต้นของนวนิยายเรื่องแรกในชีวิต



ส่วนผลงานที่เหลืออีกสามเรื่องอันได้แก่ แม่โขง, ตราบจนสิ้นกรรม และ พิษหอยมรณะ ก็ถูกนำมากล่าวถึงเช่นกัน หลังจากย้อนอดีตกลับไป      ถึงที่มาของนวนิยายแต่ละเรื่องแล้ว PAUL ADIREX ก็ได้พูดถึงเรื่องที่บริษัท TOTAL FILM GROUP ขอซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำไปสร้างเป็นภาพยนตรโดยใช้ชื่อ TARUTAO ว่าตอนแรกทาง TOTAL FILM สนใจอยากจะสร้างหนังเกี่ยวกับเมืองไทยอยู่แล้ว เมื่อได้พูดคุยและอ่านนิยายเรื่องนี้จึงสนใจจะนำไปทำเป็นบทภาพยนตร์ แต่ในบทภาพยนตร์ที่ส่งมาให้ตรวจครั้งแรกนั้นมีบทแอ็คชั่นและบทรักมากเกินไปซึ่งหนังของผมเป็นหนังต่อต้านสงคราม ไม่ได้เน้นตรงส่วนนี้



ผู้เขียนกำลังแจกลายเซ็นให้กับนักอ่านอย่างใกล้ชิด



     เกี่ยวกับประเด็นการทำลายธรรมชาติและภาพพจน์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่นักอนุรักษ์บ้านเราเป็นห่วงกันนั้น คุณปองพลได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า การถ่ายทำไม่ได้ทำที่เกาะตะรุเตาทั้งหมด เพราะจะเป็นการลงทุนที่สูงมาก ฉากของคุกกักขังนักโทษหรือฉากการต่อสู้อาจใช้สถานที่ของจังหวัดใกล้ๆ ที่เกาะตะรุเตาจะมีเพียงทีมกล้องไปถ่ายภาพวิวทิวทัศน์เพื่อนำมาตัดต่อให้เข้ากับเรื่อง เหมือนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ที่เคยทำกัน PAUL ADIREX       ยังย้ำอีกว่า เรื่องของผมไม่เหมือนเรื่องเดอะบีช เดอะบีชเป็นเรื่องตามจินตนาการ ก็ต้องมีการสร้างฉากขึ้นมาให้เป็นไปตามนั้น แต่ของผมเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ถ่ายที่ไหนก็ได้ แทบไม่ต้องสร้างฉากหรืออะไรบนเกาะตะรุเตาเลย



ในกรณีของภาพยนตร์เรื่องเดอะบีช สาเหตุที่ถูกคัดค้านอย่างหนักเพราะมีการสร้างฉากและปรับเปลี่ยนสภาพของอ่าวมาหยา ให้มีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ทำให้ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมถูกทำลายแต่สำหรับโจรสลัดแห่งตะรุเตาแล้วปัญหานี้คงจะไม่เกิดขึ้น เพราะบริษัทผู้สร้างยินยอมตามเงื่อนไขของเจ้าของบทประพันธ์ทุกอย่าง หากมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงสภาพของเกาะไปบ้างนั้น ทุกอย่างจะต้องอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมป่าไม้เป็นสำคัญ ทั้งหมดคือข้อเท็จจริงและทัศนะของ Paul Adirex ผู้สร้างสรรค์ "โจรสลัดแห่งตะรุเตา" ที่กำลังจะออกมาโลดแล่นบนแผ่นฟิล์ม และทำให้ตำนานโจรสลัดแห่งตะรุเตาเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องระลึกถึงกันต่อไป เรื่องราวของโจรสลัดแห่งตะรุเตาคงยังไม่จบเพียงเท่านี้อย่างแน่นอน ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า หากการถ่ายทำเริ่มขึ้นจะมีกระแสคัดค้านจากกลุ่มนักอนุรักษ์บ้านเราหรือไม่ แต่สำหรับ PAUL ADIREX ผู้ให้ความสำคัญกับเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติแล้ว ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า "ผมก็เป็นนักอนุรักษ์คนหนึ่ง ถ้าจะมีอะไรไปทำลายธรรมชาติ ผมไม่ยอม..."

อ้างอิงจากhttp://praphansarn.com/Pr/PPongpol1.asp
หัวข้อเรื่อง เบื้องหลังโจรสลัดแห่งตะรุเตา : จากหนังสือสู่แผ่นฟิล์ม



อ่านเพิ่มเติมลิ้งค์ด้านล่าง หมวดตำนานไทยหมวดตำนานไทย

เก่งเกินครู |

คนภาคเหนือ |

โจรสลัดแห่งตะรุเตา|

นางนากพระโขนง | นิทานภาคใต้ | นิทาน |

นิทาน-นิทานตลกหยาบโลน ว่าด้วยเรื่องนิทานพื้นบ้าน | นิทานพื้นบ้าน-กระต่ายกับหอยขม |

นิทานพื้นบ้าน-กำเนิดปลาโลมา | นิทานพื้นบ้านไทยทรงดำ-มะหุดแสนเปากับท้าวแสนปม |

บั้งไฟพญานาค |

ประวัติวังหน้า | ปริศนาคำทาย|

เพลงไทย | เพลงไทยเดิม | พระราชวังเดิม |

พิษหอยมรณะ |

เมขลา-รามสูร |

วรรณกรรมใหม่-ตราบจนสิ้นกรรม |

สรรพลี้หวน | สังเขป ประวัติกรุงศรีอยุธยา

| ฮวงจุ้ย |
หน้าหลัก หน้าหลัก