การพิจารณาฮวงจุ้ยเป็นศาสตร์
เป็นหลักวิชา และเป็นภูมิปัญญาของชาวจีนที่เรียนรู้และบันทึกสืบทอดมาเป็นพันๆ ปี
ฮวงจุ้ยเป็นวิชาว่าด้วยการพิจารณาทำเลหรือชัยภูมิที่ดีที่ นำโชคมาสู่ผู้ที่อยู่
ณ ทำเลที่ถูกต้องตามฮวงจุ้ย แน่นอนวิชาฮวงจุ้ยจึงนอกจากจะเกี่ยวข้อง กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว
ยังเกี่ยวข้องกับความเชื่อขนบประเพณีและศาสนา
คือ ลัทธิเต๋า และขงจื้อ และเมื่อพุทธศาสนาแพร่เข้ามายังประเทศจีน ศาสนาพุทธนิกายมหายานก็เป็น
พื้นฐานขององค์ความรู้ฮวงจุ้ยด้วย จักรวาลของนิกายมหายานมีการแบ่งชั้นสวรรค์ มนุษย์
นรกอย่างละเอียด มีพระโพธิสัตว์มีเทพเจ้าแบ่งเป็นชั้นๆ มีเรื่องของการบำเพ็ญบารมีเรื่อง
อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ซึ่งประสานเข้ากันเป็นอย่างดีกับความเชื่อของชาวจีนที่มีอยู่ก่อนแล้ว
พุทธศาสนามหายานจึงแพร่ไปในหมู่ของชาวจีนจนกลายเป็นวิถีชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา
และเข้ามาเป็นองค์ความรู้ในวิชาฮวงจุ้ยด้วย
หลักการพิจารณาฮวงจุ้ยจะต้องดูองค์ประกอบทั้ง
4 คือ ดวงชะตา ชัยภูมิ ทิศและฤดูกาล (กระแสแนวอากาศ 24 ทิศทาง) และฤกษ์ยาม ซึ่งขอสรุปพอเป็นสังเขป
ดังนี้
1. ดวงชะตา หมายถึงดวงชะตาของผู้ที่เลือกชัยภูมิหรือทำเลหากเป็นเจ้าของอาคารสถานที่อยู่แล้ว
ก็จะต้องตรวจดวงชะตาว่ามีความสัมพันธ์กับทำเลหรือสถานที่อย่างไร
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ คือ
1.1
ดวงต้น หมายถึง ดวงชะตาที่เกิด
1.2
ดวงก่อ หมายถึง ดวงชะตาที่ผูกพัน มีผลทำให้เกิดชะตากรรมต่างๆ ในชีวิต
2. ชัยภูมิ เป็นความรู้หรือหลักแห่งฮวงจุ้ย
ศึกษาให้รู้ซึ้งถึงแหล่งกำเนิดพลัง องค์ประกอบของชัยภูมิทั้งเหนือและใต้ธรณี หยิน
หยาง กระแสดิน น้ำ ลม อันเป็นปัจจัย ก่อพลัง รับพลัง
3.
ทิศทางและฤดูกาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับจักรวาล การหมุนของโลก กระแส การหมุนเวียนแห่งโลกดวงอาทิตย์
กาลอากาศ ทิศทาง 24 แนวหมุน หรือ 24 ราศี 3. ทิศทางและฤดูกาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับจักรวาล
การหมุนของโลก กระแส การหมุนเวียนแห่งโลกดวงอาทิตย์ กาลอากาศ ทิศทาง 24 แนวหมุน
หรือ 24 ราศี 4. ฤกษ์ยาม คือ ระยะเวลาที่มีความโยงกับพลังงานปฏิกริยาขององค์ประกอบทั้งหมดที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ซึ่งส่งผลทั้งในทางดีและไม่ดี 4. ฤกษ์ยาม คือ ระยะเวลาที่มีความโยงกับพลังงานปฏิกริยาขององค์ประกอบทั้งหมดที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ซึ่งส่งผลทั้งในทางดีและไม่ดี 3. ทิศทางและฤดูกาล ซึ่งเกี่ยวข้องกับจักรวาล การหมุนของโลก
กระแส การหมุนเวียนแห่งโลกดวงอาทิตย์ กาลอากาศ ทิศทาง 24 แนวหมุน หรือ 24 ราศี
4. ฤกษ์ยาม คือ ระยะเวลาที่มีความโยงกับพลังงานปฏิกริยาขององค์ประกอบทั้งหมดที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ซึ่งส่งผลทั้งในทางดีและไม่ดี
ฮวงจุ้ย แนวปฏิบัติที่มีอยู่จริงและความน่าพิศวง
เรื่องของฮวงจุ้ยเป็นวิชาความรู้หรือศาสตร์ที่ปฏิบัติจริงของชาวจีน
ดังนั้น เราจึงเห็นการปฏิบัติจริงอยู่ในหมู่คนไทยเชื้อสายจีน โดยเฉพาะที่เป็นชุมชนพัฒนาและสืบทอดมาจากกลุ่มคนจีนรุ่นแรกที่อพยพมาประเทศไทยจนลูกหลานเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
ดังเช่น ย่านการค้าแถวถนนเยาวราช ถนนเจริญกรุง ถนนราชวงศ์ ถ้าเป็นฝั่งธนบุรีก็แถว
คลองสาน ตลาดพลู เป็นต้น
ก่อนจะกล่าวถึงการปฏิบัติจริงของฮวงจุ้ยนั้น
ขอแยกวิธีพิจารณาฮวงจุ้ย ออกเป็น 2 ประเด็นก่อน ดังนี้
1. ฮวงจุ้ยภายในอาคาร
2.
ฮวงจุ้ยภายนอกอาคาร
1.
ฮวงจุ้ยภายในอาคาร หมายถึงการสร้างอาคารจะต้องพิจารณาฮวงจุ้ยภายในอาคาร คือ
จะต้องพิจารณาถึงอิทธิพลของพลังชี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้อยู่อาศัย ภายในอาคาร
จะทำให้เกิดความสุข ความเจริญรุ่งเรือง ดังนั้น การพิจารณาภายในอาคารจะต้องดูอย่างละเอียดทุกเรื่อง
ตั้งแต่ประตู หน้าต่าง คาน มุมเสา บันได ห้องต่างๆ ตั้งแต่ ห้องรับแขก ห้องนอน
ห้องครัวไปจนถึงห้องน้ำ การพิจารณาก็เริ่มตั้งแต่ดูชะตาของเจ้าของบ้าน ดูลักษณะต่างๆ
ดูแสง ทิศทาง การถ่ายเทอากาศ ตำแหน่ง ดูละเอียดจนถึงการวางเตียง วางโต๊ะทำงาน โต๊ะอาหาร
รายละเอียดมีมาก
ในการถือปฏิบัติเรื่องฮวงจุ้ยภายในอาคาร
มีการถือปฏิบัติกันทั่วไปในหมู่คนไทย เชื้อสายจีน โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยชองชาวไทยเชื้อสายจีนตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตามฮวงจุ้ยได้
ก็จะมีการแก้ไขป้องกันจากที่ไม่ดีไปเป็นเรื่องที่ดี เช่น การใช้กระจกเงาบานใหญ่มาตั้งที่ประตูเข้าบ้าน
การปรับแสง การใช้เสียงระฆัง การปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
2.
ฮวงจุ้ยภายนอกอาคาร หมายถึงการพิจารณาชัยภูมิที่ตั้งรอบๆอาคาร ตำแหน่งที่ตั้งอาคาร
รูปทรงอาคาร และสภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้เคียงทั้งหมด
เรื่องฮวงจุ้ยภายนอกอาคารนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก
เพราะคนจีนประกอบธุรกิจ ค้าขาย จึงคำนึงถึงชัยภูมิในการตั้งร้านค้า การเลือกทำเลประกอบธุรกิจในที่นี้จะขอกล่าวประมาณ
3 ประเด็น พอสังเขปเพื่อชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติจริงอันน่าพิศวงในภายหลัง
1. เรื่องรูปทรงอาคาร
ความเชื่อในทางฮวงจุ้ย อาคารเปรีบบดังภูเขาจึงมีผล มีอิทธิพลต่อผู้อยู่ในอาคารมีผลต่อการประกอบธุรกิจ
รูปทรงอาคารสัมพันธ์กับธาตุทั้ง 5
1.1
ธาตุไฟ รูปอาคารเป็นปิระมิดหรือเป็นหยักหรือหลังคาแหลม
1.2
ธาตุดิน รูปอาคารเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่าหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า
1.3
ธาตุน้ำ รูปทรงไม่แน่นอนตามลักษณะของน้ำไหล
1.4
ธาตุไม้ รูปทรงลักษณะยาวสูง (เพศผู้) ถ้าแตกกิ่งก้านถือเป็น
เพศเมีย ตึกสี่เหลี่ยมสูงตระหง่านถือเป็นธาตุไม้ด้วย
1.5
ธาตุทอง รูปทรงเป็นวงกลมหรือครึ่งวงกลม รูปทรงอาคารมีส่วน ส่งเสริมการค้าหรือธุรกิจ
อาคารธาตุทองรูปทรงกลมหรือครึ่งวงกลม
เป็นลักษณะรวม ดึงคนมารวมกัน เหมาะที่จะเป็นห้องประชุม โรงภาพยนตร์ (อาคารหัวลำโพง)
อาคารธาตุไฟ ที่มีทรงสามเหลี่ยมหรือยอดแหลมเหมาะกับอาชีพราชการ นักร้องนักแสดง
งานศิลปะ การค้าขายหุ้น กิจการ แปรรูปน้ำมัน เป็นต้น (ณัฐธิดา สุขมนัส 2539:133)
2. เรื่องของถนน
ถนนถือเป็นทางสัญจร มีการเคลื่อนไหว มีชีวิตเป็นกระแสพลัง พลังชี่ที่เคลื่อนไหวมีผลต่อชัยภูมิที่ตั้งอาคาร
มีผลต่อบุคคล ต่ออาชีพ ต่อธุรกิจ ลักษณะถนนบอกความหมายดังนี้
2.1
ถนนตรง แสดงอำนาจ บารมี สถานที่สูงกว่าถนนเป็นที่พึ่งพิงของพลัง ถ้าที่ต่ำกว่าถนนพลังจะถ่ายเทออก
2.2
ถนนหักศอก ถ้าหักศอกเพื่อเปลี่ยนทิศทางถนนอาคารที่อยู่ตรงกับถนนก่อนหักศอกจะได้รับพลังทิ่มแทง
2.3
ถนนที่เป็นทางสามแพ่ง รูปตัว T หรือ Y อาคารที่ตั้งรับจุดที่ถนนตรงมาจะได้รับพลังทิ่มแทงเช่นเดียวกับถนนหักศอก
2.4
สี่แยก กระแสพลังจะเวียนมาเป็นจุดรวมถือว่าเป็นทำเลที่ดีเพราะกระแสธุรกิจและกระแสเงินจะหมุนเวียนสะพัดอย่างสม่ำเสมอ
แต่อาคารที่จุดทางแยกอาจได้รับอิทธิพลของมุมตึกฝั่งตรงข้าม ถ้ามุมตึกเหมือนกันจะไม่เป็น
แต่ถ้าตัดเป็นมุมป้าน จะถูกทิ่มแทงจากตึกมุมแหลมของฝั่งตรงข้าม
2.5
สี่แยกที่มีวงเวียน กระแสพลังจะหมุนเวียนไปตามทิศทางที่รถวิ่งจุดที่รถวิ่งเข้ามาเป็นจุดที่นำโชคลาภมาให้
อาคารที่อยู่ด้านรถออกโชคลาภจะออกไปด้วย
2.6
สี่แยกที่มีทางเบี่ยงโค้งออกไปทางซ้ายและขวา จุดที่เป็นทางเข้าโค้งจะ
นำโชคออกไป จุดที่เลยโค้งเลี้ยวแล้วจะเป็นจุดนำโชคเหมือนมีถนนโอบไว้
3. เรื่องของพลังที่อยู่ใกล้เคียง
โดยเฉพาะอยู่ตรงข้ามแหล่งพลังหรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวนี้อาจจะเป็น วัด ศาลเจ้า
ครุฑ นาค หรือแม้แต่หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ล้วนแต่ส่งพลังหรือส่งผลมาอาคารที่อยู่ตรงหน้าทั้งสิ้น
(กรณีอยู่ใกล้ เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ขนาดใหญ่)
หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่
|
ยันต์ปากัว
|
ร้านตรงข้ามหม้อแปลงขนาดใหญ่
|
จากกรณีทั้ง
3 เรื่องที่กล่าวนี้ เนื่องจากอาคารทั่วไปซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ คนไทยเชื้อสายจีนได้ถือปฏิบัติเรื่องฮวงจุ้ยอยู่แล้ว
และผู้อยู่อาศัยประกอบธุรกิจก็มีความเจริญรุ่งเรืองดี แต่อาคารที่อยู่ตามจุดดังกล่าว
เมื่อรู้ว่าฮวงจุ้ยไม่เหมาะก็มีการแก้ไขตามลักษณะของ ฮวงจุ้ย การแก้ไขทำได้ 4 วิธี
ดังนี้
1. เปลี่ยนแปลงศัตรู
(สิ่งคุกคามที่อยู่อาศัย) ให้เป็นมิตร เช่น ถ้าถนนตรงมายังอาคาร (พลังทิ่มแทง)
ให้ดูทิศที่พุ่งมา ถ้ามาจากทิศเหนือ ซึ่งเป็นธาตุน้ำ ต้องหาอาคารเป็นสีเขียวรับ
เพราะธาตุไม้เป็นสีเขียว น้ำทำให้เกิดไม้จึงทำให้ศัตรูเป็นมิตร
2. การหันเหศัตรู
(ลวง) วิธีนี้จะแก้ด้วยกระจกเงา เพื่อลวงให้หันเหไปทางอื่น หรือบางครั้งก็ก่อกำแพงเป็นมุมเพื่อเบี่ยงพลังให้เฉไป
3. การสลายศัตรู
กรณีนี้อาจทำกระจกเป็นทรงกลมมีกระจกขนาดเล็กเป็นโมเสก เพื่อสะท้อนเปลี่ยนทิศทางพลังให้กระจายออกหลายๆทิศทางเพื่อสลายพลัง
4. การต่อต้านศัตรู
วิธีนี้จะใช้พลังหรืออำนาจที่เหนือกว่ามาต่อสู้หรือป้องกันไว้
ตัวอย่างกรณีฮวงจุ้ยที่ปฏิบัติจริงเป็นกรณีตัวอย่าง (ณัฐธิดา สุขมนัส 2539 : 158-160)
ความพิศวงของฮวงจุ้ย
ความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยเป็นศาสตร์
เป็นองค์ความรู้ของชาวจีนที่ปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คนไทยเชื้อสายจีนยังคงยึดถือปฏิบัติอยู่จริง
ดังได้แยกตัวอย่างมาให้เห็นแสดงว่า ฮวงจุ้ยนั้น นอกจากจะเป็นศาสตร์ที่ให้ความรู้เรื่องอำนาจ
เรื่องพลัง เรื่องความเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ เหนือธรรมชาติแล้ว เรื่องของฮวงจุ้ยยังเป็นเรื่องน่าพิศวง
แสดงให้เห็นถึงเรื่อง อิทธิพลของพลังชี่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงจริง ดังจะยกตัวอย่างกรณีถนนอื่นเป็นทางไหลเวียนแห่งพลังชี่
ดังนี้
1. สี่แยกประตูน้ำ
แต่เดิมเป็นแยกถนนตัดผ่านปรกติ ซึ่งกิจการของอาคาร ร้านค้าตรงสี่แยกเจริญรุ่งเรืองมาก
คนแน่นตลอดโดยเฉพาะอาคารริมคลองแทบไม่มีทางเดิน พอทำสะพานแยกข้ามจากด้านห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า
เพื่อให้รถวิ่งข้ามไปทางด้านมักกะสันเสร็จ ผู้คนเบาบางทันที (พลังชี่ไหลข้ามไป)
แต่อาคารทางด้านโรงแรมอินทรา อาคารใบหยกกลับไม่มีผลกระทบ ยังมีคนมากและขายของดีเช่นเดิม
ตึกแถวบริเวณสี่แยกประตูน้ำ
|
2. สี่แยกสะพานควาย เมื่อสมัยที่เป็นสี่แยกตัดกันธรรมดา ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง คนแน่นสี่แยก พอทำสะพานข้าม (ยกถนนเหนืออาคาร) คนที่สี่แยกสะพานควายเบาบางกว่าเก่ามาก ร้านอาหารทางด้านถนนจะไปดินแดงร่วงโรย ปิดกิจการ ย้ายหนีเป็นจำนวนมาก (พลังชี่ไหลเลยไป) ปัจจุบันรื้อสะพานข้ามถนนออก เพื่อสร้างทางรถไฟฟ้าแทน ก็ยังถือเป็นถนนสูงกว่าอาคารเช่นเดิม กิจการค้าไม่ดีขึ้น
อาคารแถวนี้ก่อนมีสะพานข้ามแยกสะพานควาย
|
เป็นร้านอาหาร
ผู้คนเต็มไปหมด
|
3. ถนนอุทยาน ซึ่งเป็นถนนที่สวยที่สุด ตัดจากถนนพุทธมณฑลสาย 3 เชื่อมต่อพุทธมณฑลสาย 4 ตรงหน้าองค์พระและที่สะพานข้ามคลองทวีวัฒนา ถ้ามาจากด้านถนนพุทธมณฑลสาย 3 สามารถกลับรถใต้สะพานได้เลย ปรากฏว่าสองฝั่งริมถนนอุทยานก่อนถึงสะพานข้ามคลองทวีวัฒนามีร้านอาหารแบบเปิดโล่งให้คนมารับประทาน และชมบรรยากาศตอนเย็น ยิ่งตอนค่ำคนจะมากันแน่น ที่ต่างกันก็คือ ร้านอาหารก่อนถึงสะพานจำนวนร้านน้อย คนกินไม่ค่อยมาก แต่พอกลับรถผ่านไปทางตรงข้าม ร้านอาหารเรียงรายยาวเกือบครึ่งกิโลเมตร คนมาอุดหนุนกันแน่น (พลังชี่ไหลมาวนกลับแล้วมาหยุดแถวร้านอาหารที่กลับรถแล้ว)
4. สี่แยกพุทธมณฑล (ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) เดิมเป็นจุดตัดธรรมดามี ร้านอาหารตั้งอยู่ก่อนถึงแยก (ด้านซ้ายของถนน) คนมาจอดอุดหนุนหนาแน่นขนัดแทบไม่มีที่จอดรถ เมื่อทำสะพานจากด้านพุทธมณฑลข้ามถนนปิ่นเกล้าไปทางศาลายา
ร้านอาหารสี่แยกพุทธมณฑล (หลังคาแดง หมายเลข 1) |
ก่อนทำสะพานข้าม
รถแน่นขนัด ขายอาหารดีมาก ตอนนี้ซบเซาหลังสะพานสร้างเสร็จ ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลง
มีถนนเข้าซอยหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งอยู่ติดร้านอาหาร กรณีนี้ดักแรงชี่ไว้ได้
กลับเป็นโชคดีของร้าน ทำให้ร้านซึ่งซบเซากลับฟื้นขึ้นมาได้ |
เมื่อยกถนนเสร็จเปิดให้รถเดิน ทำให้รถจากด้านกรุงเทพฯเลี้ยวซ้ายเข้าถนน พุทธมณฑลสาย 4 ได้ตลอดเวลา ปรากฏว่าร้านอาหาร (หมายเลข 1) คนลดลงทันทีและ เงียบเหงา ส่วนร้านก๋วยเตี๋ยวปลา (ตำแหน่งหมายเลข 2) ซึ่งแต่เดิมคนก็ไปกินแบบธรรมดา เมื่อถนนเสร็จ คนแห่เข้าร้านแน่นขนัด พลังชี่ไหลออก (หมายเลข 1) และพลังชี่ไหลเข้า (หมายเลข 2) และลักษณะโค้งถนนเสมือนโอบกอดไว้ (ดูเรื่องถนนในหน้า 11 )
ร้านลูกชิ้นปลา
สี่แยกพุทธมณฑล อยู่ตรงโค้งเข้าถนนพุทธมณฑล
|
วันที่ ๓ พฤษภาคม
๒๕๔๖ ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ทรงเสด็จเวียนเทียน
|
ตำรวจจึงห้ามรถยนต์จอด
ปกติรถจอดแน่นทั้งสองฝั่งถนนเพื่อกินก๋วยเตี๋ยว
|
ผู้เขียนใช้คำว่าพิศวงจากกรณีที่ยกตัวอย่างชัยภูมิหรือทำเลที่ตั้ง
ถ้าใช้วิชาฮวงจุ้ยอธิบายสามารถอธิบายได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง และที่พิศวงด้วยตัวเองก็เพราะเคยเห็นสภาพก่อนการเปลี่ยนแปลงของชัยภูมิของทั้ง
4 แห่ง ได้เห็นการเริ่มเปลี่ยนแปลง (การสร้างสะพาน หรือยกถนน และเปลี่ยนเส้นทางรถ)
และเคยคาดการณ์สถานที่ดังกล่าวว่าจะซบเซา รวมทั้งบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิที่สร้างสะพาน
(คนเดิน) ให้คนเดินได้รอบ ถือเป็นการยกถนนสูงจากพื้น ที่ตั้งอาคารเช่นกัน และเคยคาดว่าคนจะเบาบางกว่าที่ไม่ยกสะพาน
แล้วเป็นจริงอีก
ผู้เขียนเองไม่รู้วิชาฮวงจุ้ย
แต่เมื่ออ่านเอกสารและงานที่ท่านผู้รู้เขียนไว้ก็เกิดความพิศวง เพราะฮวงจุ้ย พลังชี่
หยิน หยาง จักรวาล ธรรมชาติ และความเกี่ยวพันกับมนุษย์ เป็นความรู้ที่ชาวจีนสั่งสมสืบทอดมาอย่างน่าพิศวง
แล้วการสืบทอดก็ปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน ดูได้จากคนไทยเชื้อสายจีนที่ปฏิบัติกันอยู่ดังที่กล่าวไว้แล้ว
ผู้สนใจหาความรู้ได้จากผู้รู้ เอกสาร ตำรา และศึกษาสภาพจริงได้ตลอดเวลา
อนึ่ง งานเขียนครั้งนี้ได้ใช้เอกสารงานวิจัยของ
ณัฐธิดา สุขมนัส เป็นหลัก นอกจากจะขอบคุณผู้วิจัยแล้วยังยกย่องในความอุตสาหะของเธอด้วย
ส่วนเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติม ดูได้จากบรรณานุกรม
บรรณานุกรม
ณัฐธิดา สุขมนัส.
ความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยในวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มนุษยวิทยามหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2539.
 นรมิตร ลิ่วชนมงคล. คู่มือเลือกทำเลดูราศีบ้านอาศัย.
กรุงเทพฯ : เอกรนการพิมพ์, 2530.
 พลูหลวง (นามแฝง). หยิน หยาง ภูมิพยากรณ์และฮวงจุ้ย.
กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์, 2536.
 ละเอียด ศิลาน้อย. เฟิงสุ่ย (ฮวงจุ้ย) ภูมิลักษณ์พยากรณ์.
กรุงเทพฯ : โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์, 2530.
 ศิลปากร, กรม. สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน).
พระนคร : คลังวิทยา, 2506
 อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงษ์. ฮวงจุ้ยศาสตร์พยากรณ์แห่งทำเลดีร้าย.
กรุงเทพฯ : ธรรมสารการพิมพ์, 2537
 ________. ฮวงจุ้ยสำหรับธุรกิจ. กรุงเทพฯ
: แสงดา ม.ป.ป.
 ไพรถ เลิศพิริยกมล. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย.
สำนักวิจัยและบริการทางวิชาการ สถาบันราชภัฏธนบุรี, ปีที่ 11 ปีการศึกษา 2545 หน้า
1-23
อ่านเพิ่มเติมลิ้งค์ด้านล่าง หมวดตำนานไทย
เก่งเกินครู |
คนภาคเหนือ |
โจรสลัดแห่งตะรุเตา|
นางนากพระโขนง |
นิทานภาคใต้ |
นิทาน |
นิทาน-นิทานตลกหยาบโลน
ว่าด้วยเรื่องนิทานพื้นบ้าน |
นิทานพื้นบ้าน-กระต่ายกับหอยขม |
นิทานพื้นบ้าน-กำเนิดปลาโลมา |
นิทานพื้นบ้านไทยทรงดำ-มะหุดแสนเปากับท้าวแสนปม |
บั้งไฟพญานาค |
ประวัติวังหน้า |
ปริศนาคำทาย|
เพลงไทย |
เพลงไทยเดิม |
พระราชวังเดิม |
พิษหอยมรณะ |
เมขลา-รามสูร |
วรรณกรรมใหม่-ตราบจนสิ้นกรรม |
สรรพลี้หวน |
สังเขป ประวัติกรุงศรีอยุธยา
|
ฮวงจุ้ย |
หน้าหลัก