แปลเอกสาร
บริษัท ขนบไทย จำกัด
ไทย/อังกฤษ/ญี่ปุ่น/จีน

www.khanobthai.com

     ในเดือน มกราคม ของทุกปีพอเริ่มสัปดาห์ที่สองของปีใหม่ ประเทศไทยได้กำหนดให้วันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม เป็นวันเด็กแห่งชาติ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ตลอดจนโรงเรียนต่าง ๆ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมวันเด็กทั่วประเทศ

     ในช่วงนี้มีกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของเยาวชนเกิดขึ้น คือ การประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน นิสิต นักศึกษา ชิงถ้วยพระราชทาน อันหมายถึงถ้วยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานมาเป็นรางวัลแก่วงดนตรีเยาวชนที่ชนะเลิศ วงดนตรีของโรงใดชนะการประกวด ได้รับถ้วยพระราชทาน ถือว่ามีเกียรติสูงสุด เป็นวงที่มีความสามารถสูงสุดของประเทศไทย

     การประกวดวงโยธวาทิต เริ่มจัดประกวดครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2524 เรียกว่า ประกวดวงดุริยางค์ จุดประสงค์ก็เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถด้านดนตรีของเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน จะได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศเอาใจใส่ด้านการสอนดนตรีแก่เยาวชน ตลอดจนการฝึกการจัดกิจกรรม การฝึกฝนอบรม และการฝึกการทำงาน การประสานงานอย่างเป็นระบบ และเป็นทีม เป็นการสร้างทักษะทางดนตรี และสร้างความอดทน ความมีระเบียบได้เป็นอย่างดี

     การประกวดวงโยธวาทิต กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้รับผิดชอบจัดประกวด สถานที่ประกวด คือ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ การแข่งขันจะเริ่มก่อนวันเด็ก ราว 3-4 วัน พอถึงวันเด็กแห่งชาติ คือ วันเสาร์ที่สองของเดือน มกราคม ก็จะคัดวงดนตรีวงที่เก่ง และเข้ารอบสุดท้ายประมาณ 3 วงมาแข่งขัน เพื่อคัดเลือกวงที่เก่งที่สุดเข้ารับถ้วยพระราชทาน

     นับตั้งแต่เริ่มประกวดวงดุริยางค์ พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา มีวงดนตรีของเยาวชน โรงเรียนต่าง ๆ ชนะเลิศระดับประเทศได้รับพระราชทานถ้วยรางวัล ดังนี้

	พ.ศ. 2524 วงดุริยางค์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
	พ.ศ. 2525 วงดุริยางค์ โรงเรียนขอนแก่นวิทยาลัย
	พ.ศ. 2526 วงดุริยางค์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
	พ.ศ. 2527 วงดุริยางค์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
	พ.ศ. 2528 วงดุริยางค์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
	พ.ศ. 2529 วงดุริยางค์ โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริย์
	พ.ศ. 2530 วงดุริยางค์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

     ครั้นถึง พ.ศ. 2531 ได้แยกการแข่งขันออกเป็น วงดุริยางค์ ประเภทหญิงล้วนเข้าแข่งขันด้วย มีวงดุริยางค์ที่ชนะเลิศดังนี้

	พ.ศ. 2531	วงดุริยางค์ 	โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย 
		วงดุริยางค์	โรงเรียนดาราวิทยาลัย (หญิง)
	พ.ศ. 2532	วงดุริยางค์	โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
		วงดุริยางค์	โรงเรียนสงวนหญิง (หญิง)  
	 พ.ศ. 2533 วงดุริยางค์ 	โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
		วงดุริยางค์	์ โรงเรียนดาราวิทยาลัย 

     ครั้นถึง ปี พ.ศ. 2534 การประกวดวงโยธวาทิต แยกออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภท ก รับพระราชทานถ้วยรางวัลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประเภท ข รับพระราชทานถ้วยรางวัลของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ประเภท ค รับพระราชทานถ้วยรางวัลของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามมกุฎราชกุมารี

     เกณฑ์การแข่งขันวงดุริยางค์ที่แบ่งออกเป็น ประเภท ก,ข,และ ค. มีหลักเกณฑ์การแบ่งได้ 4 ลักษณะ ดังนี้

	1. จำนวนผู้บรรเลง	ประเภท ก 	ผู้บรรเลง  50-55 คน
			ประเภท ข และ ค 	ผู้บรรเลง 40-45 คน 
	2. เพศ 		ประเภท  ก และ ข 	ผู้บรรเลงเป็นชายและหญิงผสมกันได้  
			ประเภท ค 		ผู้บรรเลงเป็นหญิงล้วน 
	3. เพลงไทย 	ประเภท  ก 		บรรเลง เพลงเถา 
			ประเภท ข 		บรรเลง เพลงโหมโรง  
 			ประเภท ค 		บรรเลง เพลงสองชั้น 
 4. ผู้แสดงร่วม (คนตีธง) 	ประเภท ก 	ผู้แสดงประกอบไม่เกิน   25 คน
 	 		ประเภท ข และ ค	ผู้แสดงประกอบไม่เกิน 15 คน  
 	ในการบรรเลงเพลงเพื่อประกวดนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
  1. นั่งบรรเลง ใช้เวลาบรรเลง 15 นาที เพลงบรรเลงบังคับ คือ เพลงพระราฃนิพนธ์ 1 เพลง และเพลงไทยเดิม 1 เพลง ส่วนที่เหลือเป็นเพลงสากลเลือกกี่เพลงก็ได้ รวมทั้งเพลง พระราชนิพนธ์ก็ได้ แต่ต้องให้จบภายในเวลา 15 นาที
  2. การเดินบรรเลง และการแปรขบวนบรรเลงในสนาม ใช้เวลา 12 นาที เพลงบังคับ คือ เพลงกราวกีฬาและเพลงมาร์ชธนาคารทหารไทย ส่วนเพลงเลือกจะเป็นเพลงสากลหรือ เพลงพระราชนิพนธ์กี่เพลงก็ได้ จะต้องจบภายในเวลา 12 นาที

     ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา มีวงดุริยางค์ของโรงเรียนต่าง ๆ ชนะการประกวดได้รับพระราชทานถ้วยรางวัล ดังนี้

	พ.ศ. 2534	ประเภท ก	โรงเรียนวัดสุทธิวราราม
		ประเภท ข	โรงเรียนพิมายวิทยา 
		ประเภท ค 	โรงเรียนสุรนารีวิทยา และ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ครองร่วมกัน 
 	พ.ศ. 2535 	ประเภท ก 	โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
		ประเภท ข	โรงเรียนอัญสัมชัญลำปาง  
		ประเภท ค   	โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ 
 	พ.ศ. 2536 	ประเภท ก    โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
		ประเภท ข    โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม 
		ประเภท ค    โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ 
 	พ.ศ. 2538  ประเภท ก    โรงเรียนเซนค์ดอมินิค
		ประเภท ข	โรงเรียนหอวัง 
		ประเภท ค	โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย 
	พ.ศ. 2539 	ประเภท ก  โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย
		ประเภท ข 	โรงเรียนสารวิทยา 
		ประเภท ค 	โรงเรียนสงวนหญิง 
	พ.ศ. 2540	ประเภท ก 	โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
		ประเภท ข 	โรงเรียนเทพบดินทร์วิทยา 
		ประเภท ค 	โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี 
 	พ.ศ. 2541 	ประเภท ก 	โรงเรียนดาราสมุทร
		ประเภท ข   โรงเรียนราชวินิตมัธยม 
		ประเภท ค	โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนค์ 
 
	พ.ศ. 2542 	ประเภท ก 	โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
		ประเภท ข   โรงเรียนมหาวชิราวุธ 
		ประเภท ค	โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ 

     การประกวดวงโยธวาทิตที่กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจัดอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานถ้วยรางวัลมานั้น นับว่าส่งผลต่อวงการดนตรีของประเทศไทยเป็นอันมาก นอกจากโรงเรียนต่าง ๆ จะตั้งอกตั้งใจฝึกฝนนักดนตรีเยาวชนให้แก่ประเทศชาติแล้ว ความสามารถของเยาวชนไทยในด้านดนตรีได้ไปปราฏกให้เวทีการแข่งขันประกวดดนตรีเยาวชนนานาชาติ และได้รับชัยชนะระดับโลกมาแล้วหลายครั้ง เริ่มจากวงดุริยางค์ของโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และล่าสุดโรงเรียนดาราสมุทร จังหวัดชลบุรีก็คว้ารางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติมาเช่นเดียวกัน


21 ม.ค 2543

อ่านเพิ่มเติมลิ้งค์ด้านล่าง ลานไทยหมวดลานไทย

ม้าก้านกล้วย | การประกวดวงโยธวาทิต | โขน |
หน้าหลัก หน้าหลัก