ตำลึง

ตำลึง

ตำลึง ชื่ออื่น เช่น ผักตำลึก ผักแคบ (ภาคเหนือ) เป็นพืชผักที่หาง่าย เป็นเถาไม้เลื้อย ที่ขึ้นอยู่ตามสวน ตามริมรั้ว ยอดนำมาลวกจิ้มน้ำพริก ผัดและแกงจืด เป็นต้น



ลักษณะทั่วไป เป็นไม้เถา ลำต้นเลื้อยพันโดยอาศัยมือเกาะ ซึ่งเป็นเส้นกลม ๆ สีเขียว ยาว 12-14 เซนติเมตร ขดงอคล้ายลวดสปริง เป็นเส้นเดี่ยวไม่แตกแขนง ออกตรงกัน ข้ามกับใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยตื้น ๆ หยักเว้า 5แฉก เส้นใบแยกจากโคนใบที่จุดเดียวกัน 5-7 เส้น ใบกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 5-6 เซนติเมตร ก้านใบยาว 5-3 เซนติเมตร



ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ออกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก ดอกเพศผู้ และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน
ผล แบบ berry ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีแดงสด ภายในมีเมล็ดมาก ออกดอกระหว่างเดือนเมษายน-ธันวาคม ติดผลระหว่างเดือนมิถุนายน-มกราคม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและตัดชำลำต้น



(สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล 2542:54)


30 ก.ค 2543


อ่านเพิ่มเติมลิ้งค์ด้านล่าง ตำรับไทยหมวดตำรับไทย

ขนมทองเอก | ข้าวตังหน้าตั้ง | ส้มตำ |

ผักพื้นบ้าน :
กระเจี๊ยบมอญ |

กระถินไทย | กระดอม |

กระโดน | ขิงเถื่อน | เอาะหลาม | ตำลึง |

บุกแดง | ชะพลู | ติ้วขาว |

อาหารชาววัง :
ที่มาของอาหารชาววัง

กะปิคั่ว | แกงเป็ดสดพริกไทยอ่อน | แกงเหลือง |

แกงหมูตะพาบน้ำ | แกงปลาดุกอย่างปลาไหล | แกงรัญจวน |

แกงไตปลา |

ข้าวปิ้ง | ข้าวต้มกะทิ |

ทอดมันสิงคโปร์ |

น้ำพริกลูกหนำเลี้ยบ | น้ำพริกมะขามสดผัด |

น้ำพริกปลาทูตำ | น้ำพริกปลากรอบ |

น้ำพริกมะพร้าว เนื้อเค็มสด | น้ำพริกมะดันผัด |

น้ำพริกลงเรือ |

ปลาทูต้มเค็มอย่างเนื้อแข็งก้างเปื่อย | เปาะเปี๊ยะทอด |

ผัดสะตอ |

พริกขิงเครื่องทอด | พะแนงเนื้อ | พริกขิงตามเสด็จ |

เมี่ยงลาว | เมี่ยงอยาก |

ยำถั่วพู | ยำไก่อย่างเต่า | ยำทะวาย |

สาคูไส้ปลา | สะเต๊ะลือ | แสร้งว่ากุ้ง |

หมี่กรอบ | หมูอบน้ำแดง |

หรุ่ม | หลนปลาร้า |

หน้าหลัก หน้าหลัก