ประเพณี
แห่ผีตาโขน

อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

ผีตาโขน

     

งานบุญหรืองานประเพณีของชาวอีสาน เกิดจากจารีตหรือประเพณีดั้งเดิมที่สั่งสอน ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา เรียกว่า "ฮีดสิบสอง คลองสิบสี่"

คำว่า ฮีดสิบสอง หมายถึงประเพณีสิบสองเดือน ดังนี้ (ปาริชาติ เรืองวิเศษ 2539:189-197)

  1. เดือนอ้าย (เดือนเจียง) บุญเข้ากรรม
  2. เดือนยี่ บุญคูณลาน
  3. เดือนสาม บุญข้าวจี่
  4. เดือนสี่ บุญผะเหวด (พระเวสสันดร)
  5. เดือนห้า บุญสงกรานต์
  6. เดือนหก บุญบั้งไฟ
  7. เดือนเจ็ด บุญซำฮะ
  8. เดือนแปด บุญเข้าพรรษา
  9. เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน
  10. เดือนสิบ บุญข้าวสาก หรือ บุญสลากภัต
  11. เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา
  12. เดือนสิบสอง บุญกฐิน


     สำหรับชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยได้จัดงานบุญ เดือนสี่ คือ บุญผะเหวด โดยรวมงานบุญบั้งไฟมาไว้ด้วยกัน เรียกว่า งานบุญหลวง งานนี้จะมีขึ้นราวปลายเดือนมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ มีการเทศน์มหาชาติ คือ เทศน์มหาเวสสันดรชาดก

     ประเพณ€เ€ื€น€ี€ท€่€ี€า€เ€ศ€์€ห€ช€ต€น€้€ั€แ€ด€ถ€ง€า€เ€ิ€ม€้€ข€ง€ว€ม€ุ€ม€ม€ู€ณ€ก€ร€ำ€ุ€จ€ม€ข€ว€แ€่€ร€เ€ส€ั€ด€ก€ั€เ€้€เ€ื€ง€ € € €ฝ€ท€่€ค€แ€้€ก€ก€ั€ม€ต€ต€อ€ต€ม€ด€กาลในขบวนแห่จะมีแห่บ้องไฟเพื่อจุดขอฝนด้วยงานบุญหลวงของชาวอำเภอด่านซ้ายนี้เองที่มีขบวนแห่ผีตาโขน บัดนี้เป็นประเพณีที่โด่งดังไปทั่วโลกแล้ว

     

ผีตาโขน เป็นการละเล่นชนิดหนึ่งของคนอีสาน

ผู้เล่นจะสวมหน้ากากและแต่งตัวให้หน้ากลัว แต่ไม่ใช่การเชิญผีมาเข้าทรง เป็นการเล่นตลกอย่างหนึ่ง ในอดีตคนอีสานนิยมเล่นผีตาโขนในงานบุญบั้งไฟ และงานบุญผะเหวด(พระเวส)มาโดยตลอด เหตุที่มีขบวนแห่ผีตาโขน เพราะมีความเชื่อว่าเมื่อพระเจ้ากรุงสัญชัยกับพระนางผุสดีไปเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับเมือง ขบวนแห่แหนเข้าเมือง มีคนป่าหรือผีป่าที่เคยปรนนิบัติและเคารพรักพระเวสสันดรร่วมขบวนมาส่งด้วย





   &€b€p€<€o€t€c€l€r€"€0€0€C€"€&€b€p€ง€น€ร€เ€ณ€แ€่€ี€า€ข€น€้€ร€่€จ€ก€ € €ง€น€ุ€ห€ว€ €ั€โ€น€ั€ €ำ€ภ€ด€า€ซ€า€ €ั€ห€ั€เ€ย€ซ€่€ง€น€ุ€น€้€ี€ำ€น€ € €ั€ €ั€น€้€ € €<€f€n€>€f€n€ €o€o€=€#€0€0€C€>€<€f€n€>€<€f€n€>€/€>€ € € €p€a€i€n€"€e€t€>€f€n€ €a€e€"€S€S€n€ €e€i€"€c€l€r€"€0€0€F€"€s€z€=€2€>€n€s€;€n€s€;€n€s€;€n€s€;€n€s€;€f€n€ €i€e€"€"€ว€น€ร€ € € €/€o€t€<€f€n€>€f€n€ €a€e€"€S€S€n€ €e€i€"€s€z€=€2€>€ร€ย€ว€า€ั€ร€ม€ร€อ€ั€โ€ม€พ€ธ€จ€เ€ิ่มต้นตั้งแต่ตอนเช้ามืดมีพิธีเบิกพระอุปคุตจากลำน้ำหมันขึ้นมาประจำตามทิศต่างๆ รอบพื้นที่ที่จะประกอบพิธีกรรมเชื่อกันว่าพระอุปคุตจะช่วยคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่างๆทำให้งานบุญสำเร็จราบรื่นไปด้วยดี ขบวนอัญเชิญพระอุปคุตนี้จะมีขบวนผีตาโขนเข้าร่วมด้วยแต่จำนวนไม่มาก




ถึงตอนสายขบวนแห่จะเคลื่อนไปบ้านเจ้ากวนเพื่อประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้ากวนและนางเทียม (ผู้ประกอบพิธีเลี้ยงผีหอหลวง) ผีตาโขนจะออกมาร่วมขบวนและเพ่นพ่านมากขึ้น เมื่อพิธีสู่ขวัญเสร็จ คนทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยเจ้ากวนนางเทียมคณะแสนนางแต่ง(ผู้ช่วยเจ้ากวนและนางเทียม) บรรดาผีตาโขน ขบวนเซิ้งและการละเล่นต่างๆเช่นทั่งบั้ง(คนป่ากระทุ้งพลอง)ควายตู้(ไถนา)ทอดแหจะเคลื่อนขบวนไปยังบริเวณวัดโพนชัยเพื่อแห่รอบอุโบสถ ในช่วงนี้ผีตาโขนจะออกมาร่วมชุมนุมมากมาย หลังจากนั้นผีตาโขนจะเที่ยวออกอาละวาดไปตามระแวกบ้านต่างๆตามอัธยาศัย

วันที่สอง ผีตาโขนจะรวมพลแต่เช้าตรู่แล้วเซิ้งเย้าแหย่คนไปตามบ้านตามถนนเป็นที่สนุกสนานพอถึงตอนบ่ายมีขบวนแห่อัญเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีเข้าเมือง เรียกว่า"แห่พระ"รูปขบวนเริ่มด้วยแสนด่านถือพานบายศรีนำหน้าตามด้วยขบวนแห่พระพุทธรูปซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระเวสสันดรขบวนแห่พระสงฆ์ 4 รูป ขบวนของคณะแสนนางเทียมนางแต่งผีตาโขน และการละเล่นต่างๆปิดท้ายด้วยขบวนแห่บั้งไฟเจ้ากวนจะได้รับเชิญให้นั่งบนบั้งไฟนำ ขบวนบั้งไฟนี้เมื่อแห่ถึงวัดโพนชัยแล้วจะนำไปจุดเพื่อขอฝนจากพญาแถนขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลระหว่างแห่บั้งไฟเจ้ากวนจะโปรยทานไปด้วย

     วันที่สาม เป็นวันทำบุญฟังเทศน์วันนี้ทุกคนจะเข้าวัดทำบุญและฟังเทศน์มหาชาติไม่มีการเล่นผีตาโขนอีกต่อไป

    ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก

     ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัวผีตาโขนชาย1ตัว หญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี

    ผีตาโขนเล็ก ทุกคนไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ หญิงหรือชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน

    หน้ากากผีตาโขน หน้ากากผีตาโขนเล็ก ทำจากส่วนที่เป็นโคนของก้านมะพร้าวและหวดนึ่งข้าวเหนียว โดยนำมาเย็บติดกันแล้วเขียนหน้าตา ทำจมูกเหมือนผี ส่วนชุดแต่งกายของผีมักมีสีฉูดฉาดบาดตา โดยอาจเย็บเศษผ้าเป็นเสื้อตัวกางเกงตัวหรือเย็บเป็นชุดติดกันตลอดตัวก็ได้ ข้อสำคัญคือต้องคลุมร่างกายให้มิดชิด

    ส่วนเครื่องแต่งตัวประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ของผีตาโขนคือ"หมากกะแหล่ง"และ "ดาบไม้ "

     หมากกะแหล่งคือเครื่องดนตรีรูปร่างคล้ายกระดิ่งหรือกระดึงแขวนคอวัว ผีตาโขนจะใช้หมากกะแหล่งแขวนติดบั้นเอวเมื่อเดินโยกตัวหรือเต้นเป็นจังหวะ ขย่มตัวสายสะโพกเสียงหมากกะแหล่งก็จะดังเสียงน่าฟังและน่าสนุกสนาน

     ดาบไม้ เป็นอาวุธประจำกายผีตาโขนไม่ได้เอาไว้รบกัน แต่เอาไว้ควงหลอกล่อและไล่จิ้มก้นสาวๆ ซึ่งก็จะร้องวิ๊ดว้ายหนีกันจ้าละหวั่น ทั้งอายทั้งขำ แต่ไม่มีใครถือสา เพราะเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา เหตุที่วิ่งหนีเพราะปลายดาบนั้นแกะสลักเป็นรูปอวัยวะเพศชายแถมทาสีแดงให้เห็นอย่างเด่นชัด การเล่นแบบนี้ไม่ถือเป็นเรื่องหยาบ หรือลามกเพราะมีความเชื่อกันว่าหากเล่นตลกและนำอวัยวะเพศชายหญิงมาเล่นมาโชว์ในพิธีแห่และงานบุญบั้งไฟจะทำให้พญาแถนพอใจ ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์

     งานบุญหลวงประเพณีผีตาโขนของอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย เป็นประเพณีสำคัญ เพราะอยู่ในฮิดสิบสองเดือนสี่งานบุญผะเหวด (พระเวส) แห่ผีตาโขนแม้จะมีเล่นในอีสานถิ่นอื่นบ้าง แต่ที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยเป็นที่รู้จักและจะยังคงอยู่คู่กับ "พระธาตุศรีสองรัก" ตลอดไป

ปาริชาต เรืองวิเศษ. "งานประเพณี ฮิดสิบสอง คลองสิบสี่" ชองชาวเลย" เลย. กรุงเทพฯ: สารคดี, 2539.

นำลงวันที่ 16 ก.ค 2543




อ่านเพิ่มเติมลิ้งค์ด้านล่าง ธรรมเนียมไทยหมวดธรรมเนียมไทย

ลอยกระทง | ประเพณีทำบุญ | วันมาฆบูชา | การถวายสังฆทาน | ประเพณีสงกรานต์ | ประเพณีแห่ผีตาโขน | ประเพณีแต่งงาน | พิธีบายศรีสู่ขวัญ | วันพืชมงคลและพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ | ฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่ | พิธีทำขวัญเดือน (โกนผมไฟ) | พิธีโกนผมจุก |
หน้าหลัก หน้าหลัก