เป็นพืชผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยนำก้านใบและก้านดอกอ่อนมาลอก เปลือกออก แล้วนำมาต้มกับใบมะขามอ่อน 2-3 น้ำ เพื่อขจัดความคันที่มีอยู่ออกไป หลังจากนั้นจึงนำมารับประทาน เช่น ทำแกงส้ม แกงอีรอก แกงกับหน่อไม้ แกงกับเห็ดชนิดต่าง ๆ ทางสมุนไพรใช้หัวพอกกัดฝีหนอง
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ล้มลุกข้ามปี ลำต้น เป็นเหง้าในดิน ลักษณะกลม ผิวขรุขระและมีราก โดยรอบ ใบ ในฤดูฝนจะมีก้านใบยาวเหนือดิน ลักษณะอวบน้ำ ไม่มีแกน กลม ขนาดเท่าหัวแม่มือ ยาว 50-120 เซนติเมตร มีลายสีเขียว น้ำตาล และดำทั้งเป็น แบบจุดพื้นจุดด่างหรือแถบลาย มีก้านใบย่อยแตกออกจากปลายก้านใบ 2-3 แขนง และมีใบประกอบเรียงเป็นคู่ รูปคล้ายหอก กว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 15-25 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย สีเขียวเข้ม หรือบางชนิดมีจุดสีขาวกระจายทั่วไป บริเวณพื้นผิวใบ ก้านท้องใบมีสีเขียวอ่อน
ดอก มีก้านดอกออกจากบริเวณเหง้าใต้ดิน โดยมีลักษณะคล้ายก้านใบ มีดอกอยู่ตรงปลายก้านคล้ายดอกหน้าวัว มีสีขาว บางพันธุ์มีสีเขียวอ่อนและมีเกสร เป็นแท่งอยู่ตรงกลาง
ผล ลักษณะกลมขนาด 0.5-1.0 เซนติเมตร สีเขียวเรียงกันเป็นแท่งยาว 5-8 เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยงห่อด้านหลัง เมื่อสุกมีสีแดง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี ร่มรำไร พบได้ในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล 2542:54)
อ่านเพิ่มเติมลิ้งค์ด้านล่าง หมวดตำรับไทย
ขนมทองเอก |
ข้าวตังหน้าตั้ง |
ส้มตำ |
ผักพื้นบ้าน :
ผักพื้นบ้าน : กระเจี๊ยบมอญ |
กระถินไทย |
ขิงเถื่อน |
กระดอม |
กระโดน |
เอาะหลาม |
ตำลึง |
บุกแดง |
ชะพลู |
ติ้วขาว |
อาหารชาววัง :
ที่มาของอาหารชาววัง |
เมี่ยงลาว |
หมี่กรอบ |
สาคูไส้ปลา |
ปลาทูต้มเค็มอย่างเนื้อแข็งก้างเปื่อย |
สะเต๊ะลือ |
น้ำพริกลูกหนำเลี้ยบ |
ยำถั่วพู |
น้ำพริกมะขามสดผัด |
แกงเป็ดสดพริกไทยอ่อน |
แสร้งว่ากุ้ง |
น้ำพริกปลาทูตำ |
แกงเหลือง |
เมี่ยงอยาก |
แกงหมูตะพาบน้ำ |
พริกขิงเครื่องทอด |
ยำไก่อย่างเต่า |
กะปิคั่ว |
ข้าวปิ้ง |
ทอดมันสิงคโปร์ |
หมูอบน้ำแดง |
แกงรัญจวน |
พะแนงเนื้อ |
หรุ่ม |
หลนปลาร้า |
น้ำพริกปลากรอบ |
น้ำพริกมะพร้าว เนื้อเค็มสด |
เปาะเปี๊ยะทอด |
พริกขิงตามเสด็จ |
น้ำพริกมะดันผัด |
แกงไตปลา |
ยำทะวาย |
น้ำพริกลงเรือ |
แกงปลาดุกอย่างปลาไหล |
ข้าวต้มกะทิ |
หน้าหลัก